การลดปริมาณหรือพลังงานความร้อน

การพิจารณาประสิทธิภาพในการลคความร้อน ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของพลังงานแสงอาทิตย์ก่อน ว่าพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วย รังสี 3 ชนิดคือ

  1. รังสีอินฟาเรด (IR) 53%
  2. รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%
  3. แสงสว่าง (แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visible Light ) 44%


ดังนั้นแล้วความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน มิได้เกิดจากรังสีเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนั้นฟิล์มที่ลดพลังงานจากรังสีอินฟาเรดได้สูง จึงมิได้หมายความว่าฟิล์มตัวนั้น จะลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ได้สูง เพราะรังสีอินฟาเรดเป็นเพียงส่วนประกอบ ( ประมาณ 50% ) ส่วนหนึ่งของพลังงานของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน
ฉะนั้นแล้วฟิล์มที่กันความร้อนที่ดี ต้องสามารถป้องกันได้ทั้ง 2 ส่วน นั่นก็คือ ค่าการลดความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ ( Total Solar Energy Rejected ) จะได้ค่าที่ถูกต้องที่สุด 

ดังนั้น หากนำฟิล์มกรองแสงมาทดสอบ ค่าการลดปริมาณความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ หรือ แสงจากรังสีอินฟาเรดจะให้ค่าสูงกว่าจากแสงอาทิตย์ เพราะแสงสปอร์ตไลท์รวมทั้งแสงจากหลอดรังสีอินฟาเรด มีปริมาณรังสีอินฟาเรดสูงกว่าในแสงอาทิตย์มาก โดยทั่วไปฟิล์มที่มีคุณภาพดีเยี่ยม จะป้องกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 90% อยู่แล้ว


ส่วนการทดสอบการลดปริมาณความร้อน ( ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % การลดความร้อนจากแสงสว่าง ) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรง จะได้ผลที่ถูกต้องกว่า การวัดปริมาณความร้อนจากไฟสปอร์ตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมี ส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง